วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการขนส่งเพือการท่องเที่ยว

    การขนส่งหมายถึง การเคลื่อนย้าย บุคคลหรือสิ่งของ จากอีกที่ไหนไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยเครื่องยานพหนะ
    การท่องเที่ยวหมายถึง การเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือเพื่อความสนุกสนานตื่นเต้นหรือเพื่อหาความรู้
    การขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง การเคลื่อนย้าย บุคคลจากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือเพื่อความสนุกสนานจนกระทั่งยังเกี่ยวกับการหาความรู้  โดยอาศัยยานพาหนะนนั้นเอง

1   ความสัมพันธ์ระหว่างการขนส่งผู้โดยสารกับการท่องเที่ยว
      
การท่องเที่ยวจำเป็นต้องมีการเดินทางของนักท่องเที่ยวจากถิ่นที่อยู่ประจำไปยังแหล่งท่องเที่ยวเป็นการชั่วคราว ด้วยเหตุนี้การขนส่งผู้โดยสารจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญของการท่องเที่ยว เพราะการขนส่งผู้โดยสารเป็นบริการที่จำเป็นต่อการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวให้ไปถึงจุดหมายปลายทางตามต้องการ ถ้าไม่มีการขนส่งผู้โดยสาร การท่องเที่ยวก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นการขนส่งผู้โดยสารกับการท่องเที่ยวจึงมีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้คือ

  1.1  การขนส่งผู้โดยสารทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังแหล่งบท่องเที่ยวซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง แล้วเดินทางกลับมายังจุดออกเดินทาง ได้
  1.2 
การขนส่งผู้โดยสารให้บริการที่สะดวกสายในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยว เช่นการเดินทางท่องเที่ยวไปกับเรือสำราญ
  1.3 
การขนส่งผู้ดดยสารก่อเกิดการกระตุ้นให้มีการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการขนส่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ย่อมมีผลต่อความต้องการในการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
  1.4 
การขนส่งผู้โดยสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เนื่องจากประสิทธภาพของการขนส่งผู้โดยสารจะส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความเจริญเติบโต ก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพ
  1.5 
การขนส่งผู้โดยสารเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การขนส่งผู้โดยสารช่วยให้แหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ห่างไกลหรืออยู่ในแหล่งทุรกันดารได้รับการพัฒนา
  1.6 
การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการขนส่งผู้โดยสาร เมื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวเจริญเติบโตมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวมากขึ้น

2   เครือข่ายการขนส่งผู้โดยสาร
         
การขนส่งผู้โดยสารนอกจากจะมีอุปกรณ์ขนส่ง หรือยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางท่องเที่ยวแล้วยังต้องมีเครือข่ายการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งเครือข่ายการขนส่งผู้โดยสารหมายถึง เส้นทางภาคพื้นดิน พื้นน้ำ และบนอากาศที่ยานพาหนะนั้น ๆ สามารถใช้สัญจร ซึงหมายรวมถึง สถานีรถไฟ หรือสถานีรถทัวร์ ท่าเรือ และท่าอากาศยาน ที่ผู้โดยสารเริ่มต้นการเดินทางท่องเที่ยวหรือเป็นจุดหมายปลายทางในการท่องเที่ยว
         
จึงเห็นได้ว่าถนน รางรถไฟ ร่องน้ำและเส้นทางบิน ถือเป็นองค์ประกอบของเครือข่ายการขนส่งผู้โดยสารที่เป็นเครื่องชี้บ่งว่า ผู้โดยสารนักท่องเที่ยวจะได้รับความสะดวกมากน้อยเพียงใดจากการใช้บริการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวไปในอาณาบริเวณ โดยรอบของจุดหมายปลายทางหรือแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนั้นควรจะมีบริการขนส่งผู้โดยสาร สาธารณะเข้าถึงจุดหมายปลายทางหรือแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย หากมีการขนส่งมวลชนของท้องถิ่นนั้นให้บริการด้วยก็ยิ่งเป็นการดี

3   ความหมายของการขนส่งผู้โดยสาร
  3.1 
การจัดให้มีการเคลื่อนย้ายบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของด้วยอุปกรณ์การขนส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามความประสงค์ของมนุษย์ ถ้าเป็นการขนส่งคนเรียกว่าการขนส่งผู้โดยสาร แต่ถ้าเป็นการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของก็เรียกว่าการขนส่งสินค้า
  3.2 
การจัดให้มีการเคลื่อนย้ายบุคคลด้วยเครื่องมืออุปกรณ์การขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งตามความประสงค์ของบุคคลนั้น   จากความหมายนี้พอจะกล่าวได้ว่า การขนส่งผู้โดยสารจะต้องประกอบด้วยลักษณะสำคัญอยู่ 3 ประการ
       3.2.1 
เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายบุคคลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
       3.2.2 
เป็นการเคลื่อนย้ายที่ต้องกระทำด้วยอุปกรณ์การขนส่ง ก็คือยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งนั่นเอง
       3.2.3 
เป็นการเคลื่อนย้ายที่ต้องเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลผู้ที่ต้องการขนส่ง
4   หน้าที่ของการขนส่งผู้โดยสาร
         
การขนส่งผู้โดยสารทำหน้าที่ผลิตบริการเพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ในการนเดินทางจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งให้เกิดอรรถประโยชน์ด้านเวลาและสถานที่ขึ้น กล่าวคือการขนส่งผู้โดยารไม่ได้ทำให้ผู้โดยสารที่ขนย้ายเกิดคุณค่าหรืออรรถประโยชน์ด้านรูปเพิ่มขึ้นเลย มีแต่ทำให้ผู้โดยสารที่ถูกขนย้ายมีสภาพทางรูปแย่ลงกว่าเดิมหรือเท่าเดิม

5   ความสำคัญของการขนส่งผู้โดยสาร

 5.1 
ความสำคัญของการขนส่งผู้โดยสารต่อเศรษฐกิจของประเทศ    
    5.1.1  ทำให้นักธุรกิจสามารถดินทางติดต่อค้าขายกันได้ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
    5.1.2 
การขนส่งผู้โดยสารทำรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล
    5.1.3 
การขนส่งผู้โดยสารช่วยลดปัญหาการว่างงาน
    5.1.4 
การขนส่งผู้โดยสารทำให้เกิดการร่วมมือทางเศรษฐกิจและการลงทุน
    5.1.5 
การขนส่งผู้โดยสารช่วยดุลการชำระเงินของประเทศ

5.2 
ความสำคัญของการขนส่งผู้โดยสารต่อสังคม 
    5.2.1  การขนส่งผู้โดยสารช่วยขยายตัวเมือง
    5.2.2 
การขนส่งผู้โดยสารช่วยลดการแบ่งแยกของสังคม
    5.2.3 
การขนส่งผู้โดยสารช่วยให้มาตรฐานการศึกษาดีขึ้น
    5.2.4 
การขนส่งผู้โดยสารช่วยให้มาตรฐานครองชีพดีขึ้น
    5.2.5 
การขนส่งผู้โดยสารช่วยให้เกินการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน

 5.3 
ความสำคัญของการขนส่งผู้โดยสารต่อการเมืองและการทหาร
    5.3.1 
การขนส่งผู้โดยสารช่วยให้เกิดความสามัคคี
    5.3.2 
การขนส่งผู้โดยสารก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในชาติ
    5.3.3 
การขนส่งผู้โดยสารช่วยให้การปหครองประเทศเป็นไปด้วยดี
    5.3.4 
การขนส่งผู้โดยสารช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดีขึ้น
    5.3.5 
การขนส่งผู้โดยสารช่วยสนับสนุนป้องกันประเทศและความมั่งคงของประเทศ

ปัญหาของการขนส่งผู้โดยสาร
 6.1  ปัญหาอากาศเป็นพิษ
 6.2 
ปัญหาน้ำเป็นพิษ
 6.3 
ปัญหาเสียงรบกวน
 6.4 
ปัญหาการจราจรติดขัด
 6.5 
ปัญหาอุบัติเหตุ
 6.6 
ปัญหาการลงทุน

การบริการขนส่งผู้โดยสาร
  7.1 
การให้บริการขนส่งผู้โดยสารในตัวเมือง
  7.2 
การให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง
  7.3 
การขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศ
ประเภทของการขนส่งผู้โดยสาร แบ่งได้เป็น 4 ปะเภทใหญ่ ๆ
  8.1 
การขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์
  8.2 
การขนส่งผู้โดยสารด้วยรถไฟ
  8.3 
การขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือ
  8.4 
การขนส่งผู้โดยสารด้วยเครื่องบิน


วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มาร์โคโปโล กับ เส้นทางสายไหม


      จุดเริ่มต้นของเส้นทางสายไหมที่ทำให้ผู้คนรู้จักมาจากมาร์โคโปโล ชาวอิตาลี ช่วงแรกเป็นการค้าผ้าไหม จากจีนไปยุโรปก่อน  เส้นทางสายไหมเป็นช่องทางสำคัญที่กระจายอารยธรรมโบราณของจีนไปสู่ตะวันตก และเป็นสะพานเชื่อมในการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างจีนกับตะวันตกด้วย
    เส้นทางสายไหมที่ผู้คนกล่าวถึงบ่อยๆนั้นหมายถึงเส้นทางบกที่ จางเชียนในสมัยซีฮั่นของจีนสร้างขึ้น เริ่มต้นจากเมืองฉางอาน ทางทิศตะวันออกจนถึงกรุงโรม ทางทิศตะวันตก เส้นทางบกสายนี้มีเส้นทางแยกสาขาเป็นสองสายไปทางทิศใต้และทางทิศเหนือ เส้นทางทิศใต้จากเมืองตุนหวงไปสู่ทางตะวันตกโดยออกทางด่านหยางกวน ผ่านภูเขาคุนหลุนและเทือกเขาชงหลิ่น ไปถึงต้าเย่ซื่อ(แถวซินเจียงและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน) อันซิ( อิหร่านในปัจจุบัน) เถียวซื่อ(คาบสมุทรอาหรับปัจจุบัน)ซี่งอยู่ทางตะวันตก สุดท้ายไปถึงอาณาจักรโรมัน
ส่วนเส้นทางทิศเหนือจากเมืองตุนหวงไปสู่ทางตะวันตกโดยออกด่านอวี้เหมินกวน ผ่านเทือกเขาด้านใต้ของภูเขาเทียนซานและเทือกเขาชงหลิ่น ผ่านต้าหว่าน คางจวี (อยู่ในเขตเอเซียกลางของรัสเซีย) แล้วไปยังทิศตะวันตกเฉียงใต้ สุดท้ายรวมกันกับเส้นทางทิศใต้ เส้นทางสองสายนี้เรียกว่า“เส้นทางสายไหมทางบก”

      นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางสายไหมอีกสองสายซึ่งน้อยคนจะทราบ สายหนึ่งคือ“เส้นทางสายไหมทิศตะวันตกเฉียงใต้” เริ่มจากมณฑลเสฉวนผ่านมณฑลยูนนานและแม่น้ำอิรวดี จนถึงจังหวัดหม่องกงในภาคเหนือของพม่า ผ่านแม่น้ำชินด์วิน ไปถึงมอพาร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ต่อจากนั้น เลียบแม่น้ำคงคาไปถึงภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย และไปถึงที่ราบสูงอิหร่าน เส้นทางสายไหมสายนี้มีประวัติยาวนานกว่าเส้นทางสายไหมทางบก เมื่อปี1986 นักโบราณคดีได้พบซากอารยธรรมซานซิงตุยที่เมืองกว่างฮั่น มณฑลเสฉวน ซึ่งห่างจากปัจจุบันประมาณสามพันกว่าปี ได้ขุดพบโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเอเซียตะวันตกและกรีซ ในจำนวนนั้น มีไม้เท้าทองที่ยาว142เซ็นติเมตร “ต้นไม้วิเศษ”ที่สูงประมาณสี่เมตรและรูปปั้นคนทองแดง หัวทองแดงและหน้ากากทองแดงเป็นต้นที่มีทั้งขนาดใหญ่และเล็กต่างๆกัน ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าวัตถุโบราณเหล่านี้อาจะถูกนำเข้ามาในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างตะวันตกและตะวันออก ถ้าความคิดเห็นประการนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง เส้นทางสายไหมสายนี้ก็มีอยู่แล้วตั้งแต่กว่าสามพันปีก่อน
       เส้นทางสายไหมอีกสายหนึ่งคือ นั่งเรือจากนครกวางเจาผ่านช่องแคบหม่านล่าเจีย(ช่องแคบมะละกาในปัจจุบัน) ไปถึงลังกา (ศรีลังกาในปัจจุบัน) อินเดียและอัฟริกาตะวันออก เส้นทางเส้นนี้ได้ชื่อว่า“เส้นทางสายไหมทางทะเล” วัตถุโบราณจากโซมาลีที่อัฟริกาตะวันออกเป็นต้นยืนยันว่า “เส้นทางสายไหมทางทะเล”สายนี้ปรากฎขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งของจีน
“เส้นทางสายไหมทางทะเล”ได้เชื่อมจีนกับประเทศอารยธรรมที่สำคัญและแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมของโลก ได้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในเขตเหล่านี้ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น“เส้นทางแลกเปลี่ยนระหว่างตะวันออกกับตะวันตก” เอกสารด้านประวัติศาสตร์ระบุว่า สมัยนั้นมาร์โคโปโลก็ได้เดินทางมาถึงจีนโดยผ่าน“เส้นทางสายไหมทางทะเล” ตอนกลับประเทศ เขาได้ลงเรือที่เมืองเฉวียนโจวของมณฑลฮกเกี้ยนของจีนกลับถึงเวนิส ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาโดยผ่านเส้นทางสายนี้เหมือนกัน